ข้อมูลอุปกรณ์ IPST-MicroBOX
แผงวงจรหลักและชุดอุปกรณ์เอาต์พุท
คุณสมบัติ :
- แสดงผลด้วยโมดูล LCD 16 ตัวอักษร 2 บรรทัด พร้อมวงจรปรับความสว่าง
- มีสวิตช์กดติดปล่อยดับพร้อมใช้งาน 3 จุด
การเชื่อมต่อ : เชื่อมต่อกับแผงวงจรหลัก MicroBOX
ตัวอย่างการเขียนโปรแกรมควบคุม :
รหัสบังคับ การทำงาน
%c หรือ %C : ใช้รับค่าการแสดงผล 1 ตัวอักษร
%d หรือ %D : ใช้รับค่าการแสดงผลเลขฐานสิบ ตั้งแต่ -2147483648 ถึง +2147483647
%f หรือ %F : ใช้รับค่าเพื่อแสดงผลข้อมูลแบบจำนวนจริง (ทศนิยม 3 หลัก)
#c : ล้างหน้าจอเพื่อแสดงผลในรอบถัดไป
#n : คำสั่งเพื่อขึ้นบรรทัดใหม่
lcd(“Hello LCD”); //แสดงข้อความ Hello LCD ออกทางจอภาพ
คุณสมบัติ : ใช้ LED ขนาด 8 มิลลิเมตร ต้องการลอจิก “1” ในการขับให้สว่าง
การเชื่อมต่อ : PD0 ถึง PD7 / PB0 ถึง PB4
ตัวอย่างการเขียนโปรแกรมควบคุม :
*** เมื่อเชื่อมต่อกับพอร์ต PD7
out_d(7,1); //สั่งให้ LED ติดสว่าง
out_d(7,0); //สั่งให้ LED ดับ
toggle_d(7); //สั่งให้ LED กลับสถานะการติด/ดับ
คำอธิบาย : ใช้ LED 2 สีในการแสดงผล โดยเลือกได้ 2 แบบ
ช่อง HIGH ถ้าอินพุตเป็นลอจิก “1” LED ติดเป็นสีแดง
ช่อง LOW ถ้าอินพุตเป็นลอจิก “0” LED ติดเป็นสีเขียว
การเชื่อมต่อ : PD0 – PD7 / PB0 – PB4
ตัวอย่างการเขียนโปรแกรมควบคุม :
*** เมื่อเชื่อมต่อกับพอร์ต PD7
out_d(7,1); //สั่งให้ LED ติดสว่าง
out_d(7,0); //สั่งให้ LED ดับ
toggle_d(7); //สั่งให้ LED กลับสถานะการติด/ดับ
คุณสมบัติ :
- ใช้แสดงผลในรูปแบบตัวเลข 4 หลัก หรือไฟแสดงตำแหน่ง 8 จุดผสมกัน
- มีจุดต่อขาพอร์ต C แบบ 10 ขา จำนวน 2 จุด เพื่อเชื่อมต่อกับแผงวงจรหลัก หรือขยายจำนวนหลักของการแสดงผล
การเชื่อมต่อ : ต่อกับพอร์ต C / PD0 – PD7 / PB0 – PB4
ตัวอย่างการเขียนโปรแกรมควบคุม :
segment(1234); //แสดงค่า 1234 ที่ LED 7 ส่วน
segment_dot(3); //แสดงจุดทศนิยมบนหลักที่ 3 นับจากขวามือ
segment_off(); //ปิดการแสดงผลของ LED 7 ส่วน
คุณสมบัติ :
- ใช้ลำโพงเปียโซ มีอิมพีแดนซ์ 32 โอมห์
- ให้กำเนิดเสียงความถี่ในช่วง 1 ถึง 3 kHz
การเชื่อมต่อ : PD0 – PD7 / PB0 – PB4
ตัวอย่างการเขียนโปรแกรมควบคุม :
*** เมื่อต่อลำโพงเปียโซกับพอร์ต PD0
beep_d(0); //กำเนิดเสียงความถี่ 3000 Hz นาน 100 มิลลิวินาที
sound_d(0,1000,500); //กำเนิดเสียงความถี่ 3000 Hz นาน 500 มิลลิวินาที
คุณสมบัติ :
- ใช้ LED เปล่งแสงอินฟาเรดขนาด 3 มม. มีลักษณะการทำงาน 2 แบบ คือ
1) ส่งแบบต่อเนื่อง ทำงานเมื่อได้รับลอจิก “1” ใช้งานร่วมกับ ZX-PHOTO เพื่อวัดระดับความเข้มแสงที่ส่งออกไป
2) ส่งแบบสัญญาณความถี่ เพื่อใช้งานร่วมกับแผงวงจรโมดูลรับแสงอินฟาเรด 32 kHz เพื่อตรวจสอบการรับสัญญาณ
การเชื่อมต่อ : PD0 ถึง PD7 / PB0 ถึง PB4
ตัวอย่างการเขียนโปรแกรมควบคุม :
ชุดอุปกรณ์ตรวจจับสัญญาณ
คุณสมบัติ : ใช้ตรวจจับแสงสว่าง เลือกเอาต์พุตได้ 2 แบบคือ
- แรงดันเอาต์พุตเพิ่ม เมื่อแสงตกกระทบ
- แรงดันเอาต์พุตลด เมื่อแสงตกกระทบ
การเชื่อมต่อ : PA0 ถึง PA7
ตัวอย่างการเขียนโปรแกรมควบคุม :
*** เมื่อเชื่อมต่อ ZX-LDR กับพอร์ต PA5
int light; //ประกาศตัวแปรเพื่อใช้เก็บค่าแสงที่ตรวจจับได้
light = analog(5); //เก็บค่าแสงที่ตรวจจับจาก ZX-LDR ไว้ในตัวแปร light
lcd(“%d”,light); //แสดงค่าออกทางจอ LCD
segment(analog(5)); //แสดงค่าออกทาง DSP-4
คุณสมบัติ : ใช้ตรวจจับแสงที่มีความยาวคลื่นอยู่ในช่วงอินฟาเรด สามารถใช้งานได้ 2 ลักษณะ คือ
- อ่านค่าเป็นระดับความเข้มแสงแบบอนาล็อก (ต่อกับ PA0 ถึง PA7) : โดยแรงดันเอาต์พุตที่ได้จะลดลงเมื่อได้รับแสงอินฟาเรดที่มีความเข้มเพิ่มมากขึ้น
- ตรวจสอบว่าตรวจจับแสงอินฟาเรดได้หรือไม่ (ต่อกับ PB0 ถึง PB4 หรือ PD0 ถึง PD7) : ให้เอาต์พุตเป็นสัญญาณดิจิตอลลอจิก “0” เมื่อตรวจจับแสงอินฟาเรดได้
การเชื่อมต่อ : PA0 ถึง PA7 / PD0 ถึง PD7 และ PB0 ถึง PB4
ตัวอย่างการเขียนโปรแกรมควบคุม :
คุณสมบัติ :
- ใช้คอนเดนเซอร์ไมโครโฟนในการตรวจจับสัญญาณเสียง
- แรงดันเอาต์พุตอยู่ระหว่าง 0 ถึง +5V โดยค่าที่วัดได้จะมากน้อยตามระดับความดังของเสียง
การเชื่อมต่อ : PA0 ถึง PA7
ตัวอย่างการเขียนโปรแกรมควบคุม :
*** เมื่อเชื่อมต่อกับพอร์ต PA0
int sound; //ประกาศตัวแปรเพื่อเก็บค่าเสียง
sound = analog(0); //เก็บค่าเสียงที่วัดได้ไว้ในตัวแปร sound
segment(analog(0)); //แสดงค่าเสียงที่วัดได้ออกทาง DSP-4
คุณสมบัติ :
ใช้ LED ความสว่างสูง (superbright) ทำหน้าที่ในการกำเนิดแสงสีแดง
แล้วใช้ LDR หรือตัวต้านทานแปรค่าตามแสงรับแสงที่สะท้อนกลับมา
ให้ผลเป็นแรงดันแปรตามความเข้มของแสงที่สะท้อนกลับมา
การเชื่อมต่อ : PA0 ถึง PA7
ตัวอย่างการเขียนโปรแกรมควบคุม :
*** เมื่อเชื่อมต่อกับพอร์ต PA2
int reflect; //ประกาศตัวแปรเพื่อเก็บค่าแสงสะท้อน
reflect = analog(2); //เก็บค่าที่วัดได้ไว้ในตัวแปร reflect
คุณสมบัติ :
ใช้วัดอุณหภูมิโดยตัววัดเป็นตัวต้านทานแปรค่าผกผันกับอุณหภูมิหรือเทอร์มิสเตอร์แบบ NTC เลือกใช้ได้ 2 แบบคือ
- เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น ค่าแรงดันจะมากขึ้น
- เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น ค่าแรงดันจะลดลง
การเชื่อมต่อ : PA0 ถึง PA7
ตัวอย่างการเขียนโปรแกรมควบคุม :
*** เมื่อเชื่อมต่อกับพอร์ต PA0
int A; //ประกาศตัวแปรเพื่อเก็บค่าข้อมูลอุณหภูมิจาก ZX-THERMISTOR
A = analog(0); //เก็บค่าอุณหภูมิที่วัดได้ไว้ในตัวแปร A
segment(A); //แสดงค่าอุณหภูมิที่วัดได้จาก ZX-THERMISTOR
คุณสมบัติ :
ใช้วัดความเข้มของสนามแม่เหล็ก ให้ผลลัพธ์เป็นแรงดันบวกเมื่อทิศทางสนามแม่เหล็กพุ่งออก
และจะกลับเป็นลบเมื่อสนามแม่เหล็กมีทิศทางพุ่งเข้า เมื่อไม่มีสนามแม่เหล็กจะได้ค่ากลาง 2.5V
และความไวในการวัดคือ 1.3mV ต่อความเข้มสนามแม่เหล็ก 1 เกาส์ (Gauss)
ค่าแรงดันที่ได้ = 2.5 + (0.0013 * ความเข้มสนามแม่เหล็ก (หน่วยเกาส์))
- ใช้ A1302 เป็นอุปกรณ์ตรวจจับปรากฏการณ์ฮอล (Hall Effect)
- ถ้าค่าความหนาแน่นของสนามแม่เหล็กมีทิศทางเป็นบวก ค่าแรงดันเอาต์พุตจะเพิ่มสูงขึ้น และถ้าสนามแม่เหล็กลดน้อยลง ค่าแรงดันเอาต์พุตก็จะมีค่าลดลง
การเชื่อมต่อ : PA0 ถึง PA7